มือใหม่อยากถ่ายพลุต้องทำยังไง...ไปดูกัน!!!
ช่วงปลายปีแบบนี้มันคือช่วงเวลาดี ๆ ที่มีเพียงครั้งเดียวในหนึ่งปี สำหรับพวกเราชาวตากล้องเท่านั้น เพราะนอกจากจะมีการเฉลิมฉลองเฮฮาปาจิงโกะกันแล้ว อีกหนึ่งอีเวนท์ใหญ่ที่หลายคนต่างเฝ้ารอคอยกันอยู่ ก็คือการจุดพลุฉลองปีใหม่นั่นเองครับ เพราะฉะนั้นบทความนี้เลยขอเอาใจตากล้องทั้งมือเก๋าและมือใหม่ที่สนใจอยากถ่ายพลุกันอยู่พอดี กับบทความที่จะเปลี่ยนการถ่ายภาพพลุให้เป็นเรื่องง่าย ๆ ถ้าอยากถ่ายพลุต้องเตรียมตัว ต้องทำยังไง ไปครับ ไปดูกันนนน!!!
แต่ก่อนจะเข้าสู่วิธีปฏิบัติภาคสนาม เพื่อความเข้าใจในศาสตร์การถ่ายภาพของตากล้องมือใหม่ และเพื่อให้ตากล้องมือเก๋าได้ทบทวนบทเรียนเก่า ๆ กระตุ้นความทรงจำ(ไม่ได้หาเรื่องเพิ่มย่อหน้านะครับ) เรามาเริ่มกันจากเรื่องทฤษฎีกันก่อนดีกว่าครับ
อย่างที่เราเข้าใจกันดีครับว่าเมื่อเราใช้สปีดชัตเตอร์ที่ต่ำมาก ๆ นอกจากจะทำให้เซ็นเซอร์กล้องเปิดรับแสงในปริมาณมากจนภาพสว่างขึ้นตามไปด้วยนั้น มันยังทำให้เกิดปรากฏการณ์อีกอย่างหนึ่ง ซึ่งเราเรียกมันว่า “Motion Blur” หรือ “การวูบไหวในภาพเนื่องจากสปีดชัตเตอร์ต่ำเกินไป” ซึ่ง Motion Blur ที่ว่านี้มันก็มีผลทำให้ภาพถ่ายของเราไม่ค้าง ๆ แข็ง ๆ หยุดนิ่งอยู่กับที่ ทำให้ภาพของเรามีจุดเด่นสะดุดตามากขึ้นจากการไหววูบของสิ่งที่เคลื่อนที่เร็วเกินกว่าสปีดชัตเตอร์ของเราจะหยุดมันเอาไว้ได้นั่นเอง ว่ากันง่าย ๆ ก็คือมันดูมีอะไรมากขึ้นกว่าการใช้สปีดชัตเตอร์ที่พอดีนั่นล่ะครับ
แน่นอนว่าด้วยการที่สปีดชัตเตอร์มันต่ำมากนี่เอง ถ้าหากเรามือไม่นิ่งพอ หรือไม่มีอุปกรณ์มาช่วยเสริมความมั่นคง ภาพที่ได้ก็จะเบลอ ๆ ไหว ๆ ไปหมดทั้งภาพด้วยเช่นกัน เพราะฉะนั้นถ้าหากเราจะใช้สปีดชัตเตอร์ที่ต่ำมาก ๆ ก็ควรมีขาตั้งกล้องสักตัวไว้เสริมความมั่นคงด้วยครับ ซึ่งขาตั้งกล้องนั้นจะเป็นยี่ห้ออะไรก็ได้ครับ เพียงแค่มั่นคงเพียงพอต่อการรองรับกล้องและเลนส์ของเราได้ก็พอ แต่ถ้าจะให้ดีกว่านั้น ก็ขอแนะนำว่ามาซื้อที่ร้าน BIG CAMERA กว่า 160 สาขาทั่วประเทศกันดีกว่าครับ เพราะเรามีทีม Product Specialist ไว้คอยให้คำแนะนำคุณอย่างใกล้ชิด ^..^
เอาล่ะ สบายใจแล้ว ได้ตีเนียน Tie-In และอู้มาหลายย่อหน้า เดี๋ยวเราไปลงภาคสนามถ่ายภาพพลุกันจริง ๆ เลยดีกว่า
1.ขั้นแรกหลังจากได้จุดซุ่มส่องแล้วก็ให้ประกบกล้องเข้ากับขาตั้งกล้อง ตั้งโหมดกล้องเป็นโหมดแมนนวล(M) แล้วปรับ ISO ให้ต่ำ ๆ ที่สุดเท่าที่กล้องของเราจะทำได้ ตรงจุดนี้ที่ไม่ใช้ค่าความไวแสงสูงก็เพราะเราไม่ต้องการสปีดชัตเตอร์สูงนั่นเองครับ และที่สำคัญคือในกรณีถ่ายตอนกลางคืนถ้าดัน ISO สูง ๆ Noise มาเยือนแน่ ๆ ครับเพราะฉะนั้นใช้ ISO ต่ำ ๆ ดีกว่า
แล้วก็อย่าลืมปิดกันสั่นทั้งของเลนส์และกล้องทั้งหมดให้เรียบร้อยด้วยนะครับ เพราะระบบกันสั่นของกล้องและเลนส์นั้นเมื่อเปิดใช้งานอยู่ มันจะพยายามส่ายชิ้นเลนส์หรือเซ็นเซอร์ไปมาเพื่อชดเชยการสั่นไหว ทีนี้พอมันมาตั้งอยู่บนขาตั้ง ไอ้การส่ายไปมานี้ก็เลยจะทำให้ภาพของเราไหวเสียเอง เพราะฉะนั้นปิดมันซะ!!!
2.เลือกปรับรูรับแสงให้แคบ ๆ (ค่า f สูง ๆ ) ส่วนหนึ่งเพื่อให้ได้สปีดชัตเตอร์ที่ต่ำ ๆ สำหรับเปิดหน้ากล้องนาน ๆ ส่วนหนึ่งก็เพื่อให้แสงจากหลอดไฟในบริเวณนั้นกลายเป็นแฉก ๆ และกันไม่ให้แสงไฟเข้ามามากเกินไปจนกลายเป็นแสงเส้นใหญ่ ๆ บวม ๆ นั่นเองครับ โดยปกติแล้วจะใช้กันที่ f8 - f11 ขึ้นไปครับ ซึ่งก็สามารถปรับเปลี่ยนไปตามสถานการณ์ได้เหมือนกันครับ เพราะถ้า f11 แล้วสปีดชัตเตอร์มันยังไม่ได้ที่ ก็จะเพิ่มขึ้นไปอีกครับ อันนี้ต้องลองเล่นกันดูที่หน้างานจริงนะ
3.การปรับสปีดชัตเตอร์ แน่นอนครับว่าในการถ่ายพลุนั้นเราต้องการเปิดหน้ากล้องนาน ๆ มันก็เลยต้องต้องปรับสปีดชัตเตอร์ให้ต่ำ ๆ เข้าไว้ โดยปรับให้ต่ำประมาณ 1 วินาทีขึ้นไปเพื่อให้เกิดการไหววูบของแสงพลุที่เคลื่อนไหว ซึ่งสำหรับค่าสปีดชัตเตอร์โดยประมาณของการถ่ายพลุจะอยู่ที่ 4-10 วินาทีครับ เอาล่ะเมื่อมาถึงตรงนี้แล้ว และเราก็ได้จัดองค์ประกอบภาพให้สวยงามแล้วก็ลั่นชัตเตอร์กันได้เลยจ้า
หรือถ้าใครอยากจะกะเวลาเปิด-ปิดชัตเตอร์ด้วยตัวเอง ก็สามารถปรับสปีดชัตเตอร์ไปที่ชัตเตอร์ B หรือชัตเตอร์ Bulb ได้เหมือนกันครับ โดยตรงส่วนชัตเตอร์ B นี้เราจะต้องกดลั่นชัตเตอร์ค้างไว้เพื่อเปิดม่านชัตเตอร์ และปล่อยชัตเตอร์เพื่อปิดม่านชัตเตอร์เองนั่นเองครับ เพราะฉะนั้นถ้าอยากใช้ชัตเตอร์ B อุปกรณ์อีกอย่างนึงที่ควรมีก็คือรีโมทหรือสายลั่นชัตเตอร์นั่นเองครับ เพราะการที่เราไปเปิด-ปิดม่านชัตเตอร์ในขณะใช้ชัตเตอร์ B ตรง ๆ เนี่ยกดให้ตายยังไงก็ไม่นิ่งครับ สายลั่นชัตเตอร์หรือรีโมทจึงเป็นสิ่งจำเป็นมากอีกอย่างนึงนอกจากขาตั้งกล้อง
โดยเทคนิคชัตเตอร์ B นี้จะสามารถใช้เก็บภาพแบบวันช็อตโดยไม่ต้องไปง้อเทคนิคการซ้อนเลเยอร์หลังจบงานได้ด้วยนะ ซึ่งมันก็จะมีทริคอยู่นิดนึงคือต้องใช้แผ่นกระดาษหรือผ้าดำในการปิดหน้าเลนส์ป้องกันการรับแสงอื่นที่เราไม่ต้องการเพื่อไม่ให้ภาพของเรามันสว่างเจิดจ้าเกินไป รวมถึงเพื่อเก็บเอาเฉพาะดอกพลุชุดถัดไปที่อาจมีการเว้นช่วงการจุด เป็นทริคที่เหมาะกับคนที่ใช้โปรแกรมตกแต่งรูปยังไม่ค่อยเก่ง หรือคนที่ต้องการเก็บภาพแบบจบหลังกล้องในช็อตเดียว
แถมเพิ่มเติมพิเศษใส่ไข่สองฟองสำหรับผู้ใช้กล้อง DSLR ในกรณีใช้ชัตเตอร์ B อย่าลืมยกกระจกด้วยฟังก์ชั่น M-Up หรือ Mirror Lock-Up เพิ่อเพิ่มความนิ่งกันด้วยนะครับ
***หมายเหตุ ข้อควรจำในการถ่ายพลุ***
จุดสำคัญอีกอย่างหนึ่งคือควรจะให้กล้องโฟกัสจุดที่เราต้องการทิ้งเอาไว้ก่อน แล้วค่อยปรับเลนส์กลับมาเป็นแมนนวลโฟกัส เพราะมันเป็นอะไรที่ยากมากกกกสำหรับการโฟกัสพลุที่ถูกยิงออกไปแต่ละดอก แถมยิ่งเราใช้รูรับแสงแคบ ๆ ก็ยิ่งมีโอกาสสูงมากทีเดียวที่กล้องจะโฟกัสวืดวาดเพราะจำนวนจุดโฟกัสที่สามารถใช้งานได้มันจะลดลงตามรูรับแสงที่แคบลงด้วย พอบวกกับสภาพแสงตอนกลางคืนก็ยิ่งทำให้ยิ่งยากไปอีก และการที่เราเปิดออโต้โฟกัสทิ้งไว้กล้องของเรามันอาจจะจับพลุไม่ทัน หรือบังเอิญมันวืดไปจับอย่างอื่นแทนได้
เพราะฉะนั้นเพื่อป้องกันการวืดวาดจับโฟกัสไม่ได้หรือจับโฟกัสผิดของกล้อง ให้โฟกัสทิ้งไว้แล้วสลับครัชสวิทช์โหมดโฟกัสบนเลนส์กลับมาเป็นโหมดแมนวลแทนนะครับ
และถ้าหากกล้องของเราดัน ISO ลงแล้ว แต่มันก็ยังไม่ได้สปีดที่ต่ำพอแถมยังมีแสงเข้ามาเยอะอยู่ อีกไอเทมลับที่จะช่วยแก้ปัญหานี้ได้ก็คือ ND Filter หรือไม่ก็ CPL Filter ที่เรามีอยู่ก็พอช่วยได้ในระดับนึงเหมือนกันครับ เพราะฟิลเตอร์ 2 ชนิดนี้จะมีผลช่วยลดแสงที่เข้ากล้องเราได้ด้วยครับ ทำให้เราสามารถลากสปีดชัตเตอร์ได้นานขึ้นอีกนิดนึงนั่นเองครับ
ถ้าเป็น CPL Filter ก็เกือบ ๆ 1 สต็อปอยู่นะ ส่วน ND Filter ก็ตามที่เราเลือกใช้งานเลยครับมีตั้งแต่ 2-10 สต็อป แต่ขอแนะนำว่าอย่าเอามาซ้อนกันเยอะเกินไปนะครับ เดี๋ยวติดขอบดำเข้ามาในเฟรมไม่รู้ด้วยนะ
แต่ยังไม่จบแค่นี้นะครับ สำหรับใครที่อยากได้ภาพพลุไฟแบบแปลก ๆ ตา พวกเราชาว BIG CAMERA ก็มีอะไรสนุก ๆ มานำเสนอให้อีกเช่นกัน โดยในระหว่างที่เรากำลังถ่ายพลุกันอยู่นั้น ช่วงวินาทีก่อนที่ม่านชัตเตอร์จะปิดหากเลนส์ที่เราใช้อยู่มันสามารถหมุนซูมได้ก็ให้ลองหมุนแหวนซูมดูครับ ทีนี้จากภาพถ่ายพลุธรรมดา ๆ ก็จะกลายเป็นภาพถ่ายพลุแบบระเบิดซูมดูแปลกตาไปอีกแบบ หรือในทางกลับกันถ้าหมุนแหวนโฟกัสแทนก็จะได้ภาพแนวระเบิดโฟกัสที่ดอกพลุจะฟุ้งกระจายกลายเป็นดวงโบเก้นุ่ม ๆ ดูแปลกตาเช่นกัน หรือจะเปลี่ยนจากการเน้นไปที่กลุ่มพลุ มาเป็นการใช้กลุ่มพลุเป็นแบล็คกราวน์ทะเลดาวโบเก้แทนก็เจ๋งไปอีกแบบนะ
เอาล่ะครับจบกันไปอีกหนึ่งเทคนิคทางการถ่ายภาพ หวังว่าบทความนี้จะมีประโยชน์สำหรับคนรักการถ่ายภาพทุกท่านนะครับ แล้วเจอกันใหม่บทความหน้า ส่วนวันนี้ก็ขอลากันไปก่อน...สวัสดีครับ โอ๊ะ เกือบลืม พวกเราชาว BIG CAMERA ขอสวัสดีปีใหม่ส่งท้ายปีเก่ากันที่บทความนี้ไว้เลยนะครับ ขอให้คุณลูกค้าผู้น่ารักทุกท่านท่องเที่ยวกันอย่างสนุกสนานบนความระมัดระวัง เดินทางกันอย่างปลอดภัย แล้วกลับมาเจอกันใหม่ปี 2024 ครับผม
สำหรับคนที่กำลังสนใจอยากได้กล้องและอุปกรณ์ไว้เที่ยวตอนช่วงปีใหม่นี้กันพอดี ก็แวะมาที่ร้าน BIG CAMERA กว่า 160 สาขาทั่วประเทศได้เลยนะครับ
สยามพารากอน ชั้น 2 โทร 0-2129-4763
เซ็นทรัลเวิลด์ ชั้น 4 โทร 0-2646-1080
เซ็นทรัล ลาดพร้าว ชั้น 3 โทร 0-2937-1763
เซ็นทรัลเฟสติวัล เชียงใหม่ ชั้น 3 โทร 0-5328-8917
ดิ เอ็มควอเทียร์ ชั้น 3 โทร 0-2003-6536
แฟชั่น ไอซ์แลนด์ โทร 0-2004-8688
ฟิวเจอร์ พาร์ค รังสิต ชั้น 3 โทร 0-2958-0908
ฟิวเจอร์ พาร์ค รังสิต ชั้น 2 โทร 0-2958-0059
ฟอร์จูน ทาวน์ โทร 0-2641-0710
เซ็นทรัล เฟสติวัล หาดใหญ่ โทร 0-7433-9957
เซ็นทรัล พลาซา ชลบุรี โทร 0-3805-3594
เซ็นทรัล เฟสติวัล พัทยา บีช โทร 0-3804-3354
เซ็นทรัล พลาซา ขอนแก่น โทร 0-4328-8104
เซ็นทรัลเวสต์เกต บางใหญ่ โทร 0-2004-3554
เซ็นทรัล พระราม2 โทร 0-2415-5774
เซ็นทรัล ปิ่นเกล้า โทร 0-2884-8804
เมกา บางนา โทร 0-2105-1680
เอ็มบีเคเซ็นเตอร์ มาบุญครอง โทร 0-2853-3503, 0-2048-4682
สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมที่ BIG CAMERA กว่า 160 สาขาทั่วประเทศ ได้ที่ http://bit.ly/2UMvmuc
พิเศษ!!! ตอนนี้ที่ร้าน BIG CAMERA มีแคมเปญใหญ่ให้คนรักการถ่ายภาพโดยเฉพาะ เป็นอภิสิทธิ์เหนือระดับสำหรับลูกค้า BIG CAMERA เท่านั้น ในทุก ๆ การใช้บริการที่ร้าน BIG CAMERA ครบ 3,000.- จะได้รับคูปอง 1 ใบ ตั้งแต่วันนี้ ถึง 15 มกราคม 2567 รายละเอียดเพิ่มเติม https://bit.ly/3PV1oTv *เฉพาะสินค้าที่ร่วมรายการ รับสิทธิ์ร่วมลุ้นทริป Fashion Photography Workshop สุด Exclusive ณ ประเทศจอร์เจีย 8 วัน 5 คืน กับ "มาตาลดา" เต้ย-จรินทร์พร จุนเกียรติ ร่วมด้วย จอร์จ-ธาดา วารีช และกอล์ฟ-กันตพัฒน์ พฤฒิธรรมกูล แห่งเพจ กอล์ฟมาเยือน