อัพเลเวลไปอีกขั้น! กับการถ่าย landscape ธรรมชาติสุดคูล

05/11/20
4 view(s)
อัพเลเวลไปอีกขั้น! กับการถ่าย landscape ธรรมชาติสุดคูล

เย้! ช่วงเวลาที่ทุกคนรอคอยก็มาถึง ความรู้สึกใกล้สิ้นปีดีที่สุด ทั้งเทศกาลและ วันหยุดรอให้ทุกคน ไปหาความสุข พร้อมพักผ่อนอย่างเต็มที่ แม้ว่าจะยังไปต่างประเทศไม่ได้ ในประเทศไทยก็ยังมีสถานที่ เที่ยวหลายแห่งที่รอทุกคนไปเยี่ยมชมอยู่

ไม่ว่าจะไปกับครอบครัว เพื่อนหรือแฟน ต่างก็ต้องการเก็บความทรงจำ และอวดความสุขลงโซเชียล อย่างแน่นอน สำหรับใครที่เป็นสาย Landscape อยากอัพสกิลการถ่าย ครั้งนี้เราเตรียมตัวให้พร้อม เพื่อได้ภาพสุดแสนประทับใจ มารู้ทริคดีๆไปกับ ‘อัพเลเวลไปอีกขั้น! กับการถ่าย landscape ธรรมชาติสุดคูล’ กันเถอะ

 

1. สร้างมิติให้กับภาพถ่าย

Cr. eberhard grossgasteig

บางคนอาจจะยังไม่รู้ว่าเวลาถ่ายภาพ Landscape ไม่จำเป็นต้องถ่ายภาพแบนๆอย่างเดียว ไม่มีมิติ แต่ควรสร้างมิติ หรือความลึกให้กับภาพ เพื่อที่จะทำให้ภาพมีความน่าสนใจและดูมีอะไร มากกว่าเดิม

Cr. Sanaan Mazhar

และในการสร้างมิติให้ภาพ เราจะต้องปรับรูรับแสงให้เล็กลง ตั้งแต่ f/16-f/22 การปรับให้รูรับแสง เล็กลงจะทำให้เราสามารถวัตถุที่เราโฟกัสทั้งฉากด้านหน้าและฉากหลังคมชัด ในกรณีนี้ อาจจะทำให้ กล้องสั่นและทำให้ภาพสั่นไหว ดังนั้นเราควรพกขาตั้งกล้องไปด้วย เพื่อคุณภาพ ของภาพที่ดียิ่งขึ้น

 

2. ใช้เลนส์มุมกว้าง

Cr. Francesco Ungaro

มาไขข้อสงสัยกันก่อนว่า ทำไมต้องใช้เลนส์มุมกว้างในถ่ายภาพ Landscape ก็เพราะว่าเลนส์ ประเภทนี้จะทำให้เก็บภาพได้ครบ ให้ความรู้สึกว่าภาพกว้าง มีพื้นที่เยอะ เก็บครบทุกรายละเอียด

นอกจากจะทำให้ภาพดูกว้างขึ้นแล้ว เลนส์ประเภทนี้ยังสร้างมิติที่ดีให้กับภาพถ่ายของเรา อีกด้วย และยังทำให้เราสามารถปรับความเร็วชัตเตอร์ให้เร็วขึ้นอีกได้ด้วย

 

3. ใช้ฟิลเตอร์สำหรับการถ่ายภาพ

Cr.Carl Larson

ถ้าอยากได้ภาพ Landscape ที่สวยและน่าหลงใหลยิ่งขึ้น เราจะต้องมีอุปกรณ์เสริมอย่างฟิลเตอร์ ส่วนใหญ่จะใช้อยู่ 2 ฟิลเตอร์ได้กัน คือ Polarizing filters และ Neutral Density (ND) filters อย่างแรก Polarizing filters ฟิลเตอร์นี้ช่วยตัดแสงสะท้อนของผิววัตถุที่เป็นอโลหะทุกชนิด ไม่ว่าจะเป็นการถ่ายน้ำ กระจก ใบไม้ หรือท้องฟ้า ในส่วนของ Neutral Density (ND) filters ฟิลเตอร์นี้จะช่วยลดแสงมากๆ ที่จะเข้ามาในกล้อง ส่วนมากจะใช้ในวันที่มีแสงมากเกินไป ที่ปรับลดความเร็วชัตเตอร์ให้น้อยลง แค่ไหน ก็ยังสว่างมาก

 

4. สร้างภาพให้มี Movement

Cr. Zukiman Mohamad

Cr. Zukiman Mohamad

อัพสกิลการถ่ายภาพนิ่งให้มีมูฟเม้นกันบ้างดีกว่า อย่างการถ่ายน้ำ ปกติเราจะถ่ายแบบปกติเลย สายน้ำที่ได้ก็จะแข็งๆ ทำให้สายน้ำดูไม่มีการเคลื่อนไหว ในกรณีนี้เราจะต้องลด Shutter Speed หรือความเร็วชัตเตอร์ เพื่อให้เกิด Effect ที่เกิดจาก ความเร็วชัตเตอร์ต่ำ ที่เราเรียกกันว่า Long Exposure นั่นเอง วิธีนี้เราจะต้องตั้งค่าความเร็วชัตเตอร์เอง และใช้ exposure ประมาณ 2 วินาที นอกจากนี้ยัง สามารถใช้โหมด Av และปรับค่ารูรับแสงยู่ที่ f/32 แต่ถ้าในวันที่จะถ่ายมีแสงมาก แนะนำว่าให้ใช้ฟิลเตอร์ กับขาตั้งกล้องด้วย เพื่อให้ได้ภาพที่ดีที่สุด

 

5. สร้างเงาสะท้อนในน้ำ

Cr. Johnny Chen

เงาสะท้อนที่เกิดขึ้นในน้ำจะสร้างให้ภาพมี impact และสร้างความน่าหลงใหลให้ภาพถ่าย มากยิ่งขึ้น และช่วงเวลาที่จะถ่ายเงาแล้วสวยคือ ช่วง Golden hours มีด้วยกันอยู่ 2 ช่วง คือ 1 ชั่งโมงหลังพระอาทิตย์ขึ้น และ 1 ชั่วโมงก่อนพระอาทิตย์ตก แนะนำว่าการถ่ายประเภทนี้จะต้องมีอุปกรณ์ เสริมอย่างขาตั้งกล้อง และปรับความเร็วชัตเตอร์ให้ต่ำลง พร้อมตั้งรูรับแสงให้สมดุลกับความเร็วชัตเตอร์

 

6. แบบในภาพ

Cr. Quang Nguyen Vinh

Cr. Simon Migaj

ใครๆก็คิดว่าภาพ Landscape ไม่ควรมีแบบเข้าไปในภาพ เพราะยังไงก็ไม่เด่นอยู่แล้ว แต่ไม่จริงเลย การที่มีคนเข้าไปในภาพด้วย ก็เป็นอีก 1 องค์ประกอบเล็กๆที่น่าสนใจ แต่ก็ต้องวางไว้ตามกฎการจัดองค์ประกอบภาพหรือกฎสามส่วนด้วย เพื่อให้ภาพมีองค์ประกอบที่สวยงาม

 

7. จัดองค์ประกอบภาพ

Cr. Johannes Plenio

กฎการจัดองค์ประกอบภาพยอดนิยม คือ กฎสามส่วน (Rule of Third) รูปจะดูสวยขึ้นและมี องค์ประกอบที่ดีขึ้นเมื่ออยู่ในกฎการจัดองค์ประกอบ ต้องวางวัตถุไว้ที่จุดตัดกันจุดใดจุดหนึ่งของเส้น เพื่อให้ได้ภาพที่มีความสวยงามกว่า

เซฟลิสต์ไว้เลย! และเตรียมตัวให้พร้อม เพื่อให้การถ่ายภาพน้ำตกครั้งต่อไปของชาว Landscpae อย่างเราดีขึ้นและอัพสกิลขึ้นกว่าเดิม

ที่มา: Landscape Photography Tips

บทความ ก่อนหน้านี้:
บทความ ถัดไป:

หมวดหมู่สินค้า