ขอต้อนรับเข้าสู่ช่วงปิดห้องป้ายยา กับ BIG CAMERA ในหัวข้อ “น้องเล็กรุ่นใหม่ vs พี่ใหญ่รุ่นเก๋า” บทสรุปของการเดินทางที่ยาวนานถึง 4 ปี จาก Fujifilm X100V สู่ Fujifilm X100VI ผ่านไปแล้ว 4 ปี มีอะไรเปลี่ยนไปบ้าง ไปดูกันครับ
ส่วนวิดีโอรีวิวฉบับเต็มของ Fujifilm X100VI คอยติดตามได้เร็ว ๆ นี้ ที่ แหล่งรวมคลิปวิดีโอรีวิวสินค้า
Fujifilm X100VI : The One and Only บทบรรเลงของเพลงชัตเตอร์ที่สอดประสานเทคโนโลยีกล้องแห่งอนาคตพร้อมกับพาคุณเลี้ยวลดสู่อดีตกาลจากสัมผัสการใช้งานแบบกล้องอนาล็อก Touch of Elegant ด้วยบอดี้ดีไซน์ที่สง่างามข้ามยุคสมัยในสไตล์กล้องฟิล์มสุดคลาสสิค ภายในแฝงไว้ด้วยขุมพลังแห่งเทคโนโลยียุคใหม่เอาไว้อย่างเต็มเปี่ยมอัดแน่น ผสานความละเอียดอันน่าทึ่งเข้ากับอัตลักษณ์โทนที่โดดเด่น
*** จุดเด่น Fujifilm X100VI : The One and Only ***
- เซ็นเซอร์ APS-C แบบ X-Trans CMOS 5 HR ความละเอียด 40 MP
- ชิปประมวลผล X-Processor 5
- 20 Film Simulations
- Fujinon 23mm f2 โครงสร้างชุดเลนส์แบบ 8 ชิ้น ใน 6 กลุ่ม มีชิ้นแก้ว Aspherical 2 ชิ้น
- ระบบกันสั่น IBIS 6 Stops
- อัตราลั่นชัตเตอร์ต่อเนื่อง E-Shutter 20fps / M-Shutter 11fps
- รองรับการโฟกัสติดตามทั้งคน สัตว์ นก แมลง และยานพาหนะ
- ISO125 – 12,800 Extended ISO64 – 51,200
- วิดีโอ 6K.2/30p, 4K/60p, 4:2:2 10-bit Internal Record
- รองรับ Memory Card แบบ Single UHS-I Slot
- จอหลัง LCD Touchscreen 2 Way Tilt Screen
- ช่องมองภาพ EVF 3.69 ล้านจุดสี
- แบตเตอรี่ NP-W126S
- น้ำหนัก 521g
Round One : บอดี้ดีไซน์
ด้วยความคลาสสิคของงานออกแบบอันเป็นเสน่ห์ของกล้องในตระกูล Fujifilm X100-Series ที่ไล่ไปตั้งแต่การลงลักษณ์เสลาสลักเลขอักขระต่าง ๆ บนบอดี้กล้อง จนถึงการควบคุมที่มอบสัมผัสการใช้งานแห่งความคิดถึงในสไตล์กล้องฟิล์ม ที่ผสมผสานไดอัลและจอยสติ๊กจากยุคใหม่เอาไว้อย่างลงตัว ซึ่งก็ต้องยอมรับเลยว่าสามารถทำเอาไว้ได้เป็นอย่างดีตั้งแต่กล้องรุ่นแรกจนถึงรุ่นล่าสุดเลยทีเดียว
ตรงจุดนี้เองล่ะครับที่ทำให้การเดินทางจาก Fujifilm X100V มาถึง Fujifilm X100VI ก็ยังคงสืบทอดจุดเด่นด้านนี้เอาไว้อย่างครบถ้วน แต่ในส่วนของกล้อง Fujifilm X100VI จะมีอยู่ 4 จุดที่ได้รับการปรับแต่งใหม่ คือระนาบโฟกัสที่ถูกเลื่อนขึ้นไปด้านหน้าเล็กน้อยจากการติดตั้งชุดระบบกันสั่นเข้าไป ถัดมาคือตำแหน่งของปุ่ม Drive/Delete ที่ขยับเข้ามาทางฝั่งขวาเพื่อลดการปีนนิ้วโป้งมากดปุ่มให้อยู่ในหลักสรีศาสตร์มากขึ้นกว่าเดิม ส่วนอีกจุดคือตำแหน่งของ Skrew ที่ถูกเลื่อนขึ้นไปด้านหน้าเล็กน้อย และสุดท้ายคือน้ำหนักที่เพิ่มขึ้น 43g (จากเดิม 478g เป็น 521g)
สำหรับยกแรกนี้ในเรื่องรูปลักษณ์หน้าตา เนื่องจากยังรักษาเอกลักษณ์ความสง่างามแห่ง Touch of Elegant เอาไว้ได้อย่างครบถ้วนสูสีกันทั้งคู่ เลยขอยกให้เสมอกันในยกนี้ไปก่อนครับ
Round Two : เซ็นเซอร์และระบบประมวลผล
Fujifilm X100V ใช้ระบบประมวลผลรุ่น X-Processor 4 ที่มาพร้อมเซ็นเซอร์ X-Trans BSI CMOS 4 แบบ APS-C ความละเอียด 26.1MP ส่วน Fujifilm X100VI จะใช้ระบบประมวลผลรุ่น X-Processor 5 ที่มาพร้อมเซ็นเซอร์ X-Trans BSI CMOS 5 HR แบบ APS-C ความละเอียด 40.2MP
ด้วยความละเอียดเซ็นเซอร์ที่เพิ่มขึ้นกว่ารุ่นเดิมถึงกว่า 1.5 เท่า ทำให้ความสามารถในการบันทึกรายละเอียดภาพของกล้อง Fujifilm X100VI ทำได้ละเอียดคมชัดน่าทึ่งยิ่งกว่ารุ่นก่อน และถึงแม้ว่าจะทำการ Digital Zoom สูงสุดที่ 2 เท่า แต่กล้อง Fujifilm X100VI ก็ยังสามารถรักษาความละเอียดไฟล์ภาพนิ่งเอาไว้ได้สูงถึง 20.1MP ซึ่งถือเป็นความละเอียดภาพนิ่งที่เพียงพอต่อการใช้งานในระดับทั่วไปในปัจจุบันนี้ ในขณะเดียวกันระบบประมวลผลใหม่ก็ยังช่วยให้กล้อง Fujifilm X100VI สามารถทำการประมวลผลระบบต่าง ๆ ของกล้องได้ดียิ่งขึ้นกว่าเดิมอีกด้วย
ซึ่งก็องค์ประกอบเหล่านี้เองล่ะครับ ที่ทำให้กล้อง Fujifilm X100VI มีความสามารถด้านงานภาพนิ่งที่ยืดหยุ่นต่อการใช้งานเหนือกว่ากล้องรุ่นพี่อย่าง Fujifilm X100V
Round Three : ความสามารถด้านวิดีโอ
กล้อง Fujifilm X100V รองรับการบันทึกวิดีโอที่ความละเอียดสูงสุดถึง 4K/30p และ FHD/120p ส่วน Fujifilm X100VI สามารถบันทึกวิดีโอความละเอียดสูงสุดได้ถึงระดับ 6.2K/30p, 4K/60p และ FHD/120p
คือเอาแค่เห็นแค่นี้ก็ไม่ต้องพูดอะไรแล้วล่ะครับ เพราะเรียกว่าพัฒนากันแบบก้าวกระโดดเลยทีเดียว ซึ่งอันที่จริงแล้วกล้องในตระกูล Fujifilm X100-Series นี้ไม่ว่ารุ่นไหน ๆ ตอนเปิดตัวรุ่นใหม่ออกมาก็มักจะพัฒนาแบบก้าวกระโดดแบบนี้ล่ะ ด้วยการอัดสุดขีดของเทคโนโลยีกล้องในยุคนั้นลงไปแบบเต็มแม็กซ์ เป็นการเดินทางยาวนาน 4 ปีที่ไม่เสียเปล่าเลยแม้แต่วินาทีเดียว
Round Four : ระบบกันสั่น
สำหรับเรื่องระบบกันสั่น ถ้าจะใช้คำจำกัดความที่สั้นและเรียบง่ายแต่ทรงพลังที่สุดก็คือ นี่เป็นครั้งแรกของกล้องในตระกูล Fujifilm X100-Series ที่มีระบบกันสั่นแบบ IBIS มาให้ใช้กันแล้ว และอย่างที่เรารู้กันดีเลยครับ ระบบกันสั่นแบบ IBIS สามารถช่วยเพิ่มโอกาสในการได้ช็อตสวย ๆ เป็นอย่างมาก
โดยเฉพาะเมื่อต้องใช้งานในสถานการณ์ที่สภาพแสงน้อยจนไม่อำนวยต่อการจะถือกล้องด้วยมือเปล่าเท่านั้น ระบบกันสั่นแบบ IBIS จะเป็นผู้ช่วยที่ดีมากในการเก็บเฟรมสวยของเรา ยิ่งกับกล้อง Fujifilm X100VI ที่ถูกยกให้เป็นกล้องขวัญใจสาย Street Photo ด้วยแล้ว การมาของระบบกันสั่นแบบ IBIS มันคือส่วนผสมที่ลงตัวมาก ๆ
Round Five : ระบบโฟกัส
อย่างที่บอกเอาไว้เลยครับว่าการมาของกล้องในตระกูล Fujifilm X100-Series รุ่นใหม่จะมาพร้อมการพัฒนาแบบก้าวกระโดดเสมอ จากเดิมใน Fujifilm X100V ที่เคยรองรับฟังก์ชันการโฟกัสแบบเน้นที่ดวงตาและใบหน้าของมนุษย์
พอกลับมาใหม่ในรุ่น Fujifilm X100VI ก็จัดหนักแบบไม่มีกั๊กไม่ปรานีปราศรัยอะไรทั้งสิ้น ด้วยการผสานเทคโนโลยี AI Deep-Learning ลงไปในกล้อง Fujifilm X100VI จนทำให้กล้องใหม่รุ่นนี้สามารถเลือก Priority ของ Subject Detection ได้หลากหลายมาก ไล่ไปตั้งแต่การโฟกัสแบบเน้นที่ดวงตาและใบหน้าของมนุษย์ การเน้นจับโฟกัสไปที่สัตว์ นก แมลง ไปจนถึงยานพาหนะทั้งบนบก และอากาศยาน หรือแม้แต่โดรนก็ตาม กล้อง Fujifilm X100V ก็ยังสามารถตรวจจับได้อย่างแม่นยำ
Round Six : Film Simulations
กล้อง Fujifilm X100V เปิดตัวมาพร้อม Film Simulations 17 modes ประกอบด้วย PROVIA/Standard, Velvia/Vivid, ASTIA/Soft, Classic Chrome, PRO Neg.Hi, PRO Neg.Std, Black & White, Black & White+Ye Filter, Black & White+R Filter, Black & White+G Filter, Sepia, ACROS, ACROS+Ye Filter, ACROS+R Filter, ACROS+G Filter, ETERNA/Cinema และ Classic Neg
ส่วนกล้อง Fujifilm X100VI เปิดตัวมาพร้อม Film Simulations 20 modes ประกอบด้วย PROVIA/Standard, Velvia/Vivid, ASTIA/Soft, Classic Chrome, REALA ACE, PRO Neg.Hi, PRO Neg.Std, Classic Neg., Nostalgic Neg., ETERNA/Cinema, ETERNA BLEACH BYPASS, ACROS, ACROS + Ye Filter, ACROS + R Filter, ACROS + G Filter, Black & White, Black & White + Ye Filter, Black & White + R Filter, Black & White + G Filter และ Sepia
ด้วย Film Simulations 20 modes ของ Fujifilm X100VI นี่ล่ะครับ ที่จะช่วยทำให้เราพร้อมปลดล็อคทุกจินตนาการและเติมเต็มทุกโทนอารมณ์ฟิล์มให้กับทุกภาพอย่างมีเอกลักษณ์ โดยเฉพาะ REALA ACE ซึ่งเป็น Film Simulation ที่จำลองโทนสีมาจากฟิล์ม Reala Ace และ Reala Superia ที่มีจุดเด่นในเรื่องสีสันที่เที่ยงตรงและเข้มข้น รวมถึงมีการจัดการสีเขียวที่ดีมาก
ซึ่งในปัจจุบันนี้ (บทความถูกเขียนขึ้น ณ วันที่ 3 มีนาคม 2024) นอกจากจอมราชันย์เรือธงมหากาฬอย่าง MORE THAN FULL FRAME : Fujifilm GFX 100II แล้ว มันก็มีเพียงแค่ Fujifilm X100VI นี่ล่ะครับที่มี Film Simulations REALA ACE มาให้เราใช้กันตั้งแต่แกะออกมาจากกล่อง
Round Seven : To the Moon
“กล้องบางรุ่น ของมือสองแพงกว่าของมือหนึ่งเสียอีก” เป็นคำจำกัดความที่ใช้บ่งบอกกล้องตระกูล Fujifilm X100-Series ได้อย่างหมดจดที่สุด ซึ่งสำหรับเรื่องนี้แม้แต่ตัวผู้เขียนเองก็ต้องขอยอมรับอย่างหมดหัวใจว่ามันเป็นปรากฏการณ์ที่บ้าคลั่งมาก ๆ เพียงแค่วันแรกของการวางจำหน่าย Fujifilm X100VI เท่านั้น แต่ราคารีเซลกระโดดไปไกลจนน่าตกใจ ยิ่งตัวรุ่นพิเศษจำนวนจำกัด 1934 ตัวทั่วโลก ราคาใบจองที่เอามารีเซลกันนี่คือต้องขยี้ตามองใหม่อีกที (ที่มา : สำนักป้ายยา)
และสำหรับคนที่ยังไม่ตัดสินใจจองตั้งแต่วันนี้ พวกเราชาว BIG CAMERA ก็บอกเลยว่า ณ ตอนนี้มีอยู่ประเทศหนึ่งที่ฟันยอดจองไปถึงหกแสนเครื่องแล้ว เพราะฉะนั้นอย่าลังเลแล้วแวะมาที่ร้าน BIG CAMERA กว่า 160 สาขาทั่วประเทศกันเถอะนะครับ