(How-To) ตากล้องต้องรู้ 101: รูรับแสงกับการถ่ายภาพ

(How-To) ตากล้องต้องรู้ 101: รูรับแสงกับการถ่ายภาพ
24/04/24
161 view(s)
(How-To) ตากล้องต้องรู้ 101: รูรับแสงกับการถ่ายภาพ

          ก่อนอื่นเลย เรามาทำความเข้าใจเรื่องกลไกของรูรับแสงกันก่อนดีกว่า รูรับแสง คือ ชุดม่านไดอะแฟรมที่ถูกออกแบบให้มีลักษณะวางเรียงซ้อนกันอยู่ภายในกระบอกเลนส์ ทำหน้าที่เป็นเหมือนรูม่านตา คอยควบคุมปริมาณแสงที่จะเข้าสู่เซ็นเซอร์ด้วยการเลื่อนเข้าหากัน เพราะฉะนั้นการตั้งค่ารูรับแสงจึงมีผลต่อปริมาณแสงที่เข้าสู่เซ็นเซอร์กล้องโดยตรง ถ้าใช้รูรับแสงกว้างขึ้นภาพถ่ายของเราก็จะสว่างขึ้น และถ้าหรี่รูรับแสงให้แคบกว่าเดิมภาพมันก็จะมืดลง

          และนอกจากความสว่างของภาพแล้ว การทำงานของชุดไดอะแฟรมยังมีผลโดยตรงต่อ 2 สิ่งนี้ด้วยครับ อย่างแรกก็คือระยะชัดลึก ถ้าเราเปิดรูรับแสงกว้างระยะชัดลึกจะต่ำ(ชัดตื้น/หลังละลาย) แต่ถ้าเราหรี่รูรับแสงให้แคบระยะชัดลึกในภาพจะสูง(ภาพมีความคมชัดลึกเข้าไป/หลังละลายน้อย) ส่วนอีกอย่างคือลักษณะของโบเก้ เลนส์ที่มีจำนวนกลีบไดอะแฟรมเยอะจะให้โบเก้ที่กลม แต่เลนส์ที่มีจำนวนกลีบไดอะแฟรมน้อยจะให้โบเก้ที่มีลักษณะเป็นเหลี่ยมมากกว่า

          โดยเลนส์แต่ละตัวจะมีบอกค่ารูรับแสงกว้างสุดที่สามารถทำได้ สลักบอกเอาไว้อย่างชัดเจนบนตัวเลนส์เลยว่าเลนส์ตัวนี้สามารถเปิดรูรับแสงได้กว้างสุดที่ f เท่าไหร่ ส่วนมากจะแสดงเป็นตัวเลข 1:F กว้างสุดของเลนส์นั้น ๆ เช่น 1:2 ก็คือเลนส์ตัวนั้นเปิดรูรับแสงได้กว้างสุดที่ f2 แต่ก็มีบางค่ายเหมือนกันที่จะระบุไว้ในรูปของค่ารูรับแสงกว้างสุด/ช่วงใช้งาน เช่น เลนส์ Sony FE 35mm f1.8 ที่ปั๊มไปบนบอดี้เลนส์ว่า FE 1.8/35

          และนอกจากความสว่างของภาพแล้ว การทำงานของชุดไดอะแฟรมยังมีผลโดยตรงต่อ 2 สิ่งนี้ด้วยครับ อย่างแรกก็คือระยะชัดลึก ถ้าเราเปิดรูรับแสงกว้างระยะชัดลึกจะต่ำ(ชัดตื้น/หลังละลาย) แต่ถ้าเราหรี่รูรับแสงให้แคบระยะชัดลึกในภาพจะสูง(ภาพมีความคมชัดลึกเข้าไป/หลังละลายน้อย) ส่วนอีกอย่างคือลักษณะของโบเก้ เลนส์ที่มีจำนวนกลีบไดอะแฟรมเยอะจะให้โบเก้ที่กลม แต่เลนส์ที่มีจำนวนกลีบไดอะแฟรมน้อยจะให้โบเก้ที่มีลักษณะเป็นเหลี่ยมมากกว่า

ค่ารูรับแสงช่วงไหนให้ไฟล์ภาพถ่ายที่คมที่สุด?

          เรียกว่าเป็นคำถามที่น่าจะคาใจใครหลายคน ซึ่งก็ต้องบอกก่อนว่าค่า f ที่คมสุดนั้นมันขึ้นอยู่กับค่า f กว้างสุดของเลนส์ตัวนั้นด้วย แต่ว่าบอกไว้ก่อนนะครับ ว่าค่า f ที่คมสุดของเลนส์มันก็ไม่ใช่ค่า f ที่ดีที่สุดสำหรับการถ่ายภาพเสมอไป มันขึ้นอยู่กับว่าเราต้องการสร้างสรรค์ภาพถ่ายของเรายังไงมากกว่า สำหรับตัวผู้เขียนเองคิดว่าหัวใจสำคัญของกรถ่ายภาพมันไม่ใช่การพยายามหาค่าที่ดีที่สุดของอุปกรณ์เอามาใช้ แต่มันคือการควบคุมกล้องเพื่อให้ได้ภาพถ่ายที่ถูกต้องตามโจทย์ที่เราคิดมากกว่า เรื่องค่า f คมสุดของเลนส์จึงมีประโยชน์แค่ไว้ให้เรารู้นั้นเองครับ ก็อย่างที่เขาว่านั่นล่ะครับ “กฎและทฤษฎีต่าง ๆ มันก็แค่แนวทาง”

          โดยเราสามารถคำนวณได้ง่าย ๆ ด้วยการบวกราว ๆ 2 สตอปจากค่า f กว้างสุดที่เลนส์นั้นทำได้ เพียงเท่านี้ก็จะได้ค่า f ที่คมสุดของเลนส์ตัวนั้น(แบบคร่าว ๆ)แล้ว เช่น เลนส์ของเรามีรูรับแสงกว้างสุดที่ f1.4 บวกราว ๆ 2 สตอป ก็ประมาณ f2-2.8

 

ควรตั้งค่ารูรับแสงยังไงให้เหมาะสมกับสถานการณ์ต่าง ๆ

          สำหรับแนวทางในการปรับตั้งค่ารูรับแสง ให้เราทำความเข้าใจง่าย ๆ ตามนี้ได้เลยครับ ถ้าหากเราต้องการภาพหลังละลาย เราก็เปิดรูรับแสงมันกว้าง ๆ (เลขค่า f ต่ำ ๆ) แต่ถ้าอยากถ่ายภาพออกมาให้มันชัด ๆ ทั้งภาพก็ต้องหรี่รูรับแสงให้มันแคบเข้ามา ซึ่งส่วนมากก็มักจะใช้กันที่ f8 หรือมากกว่านั้น

          แต่พยายามใช้ค่ารูรับแสงให้เหมาะกับงานของเราด้วยนะครับ อย่าให้มันกว้างหรือแคบเกินไป เช่น บางรูปเราใช้แค่ f5.6 ก็สามารถคลุมพื้นที่ชัดเอาไว้ได้แล้ว ก็ไม่จำเป็นต้องหรี่ค่ารูรับแสงไปให้แคบกว่านั้นก็ได้

          เพราะยิ่งเราใช้รูรับแสงแคบเท่าไหร่นั่นก็หมายความว่าเราจะยิ่งต้องชดเชยสปีดชัตเตอร์ให้น้อยลงหรือไม่ก็ต้องไปดันค่า ISO ให้เพิ่มขึ้นเพื่อให้รูปมันสว่างขึ้นตามไปด้วยนั่นเองครับ นึกออกใช่ไหมครับว่าถ้าค่า ISO สูงขึ้น Noise มันจะสูงตามมาแน่นอน

 

เป็นเรื่องจริงหรือ? ถ้าอยากถ่ายภาพหลังละลายต้องใช้เลนส์รูรับแสงกว้างเท่านั้น?

          สำหรับเรื่องนี้ต้องขอบอกว่าไม่ได้เป็นความจริงไปทั้งหมดครับ เพราะถ้าต้องใช้แต่เลนส์รูรับแสงกว้างเท่านั้น ทำไมเลนส์ Tele-Photo ที่เปิดตัวมาพร้อมรูรับแสงกว้างสุดที่ f5.6 หรือ f8 ถึงสามารถละลายฉากหลังได้ล่ะ

          นั่นก็เพราะว่าจริง ๆ แล้วการทำหลังละลายมันมีองค์ประกอบอื่นด้วยนั่นเอง ทั้งระยะเลนส์ที่เราใช้ ระยะห่างจากตัวเราไปถึงสิ่งที่จะถ่าย ไปจนถึงระยะจากสิ่งที่เราจะถ่ายไปถึงฉากหลัง และใช่ครับ ค่ารูรับแสงก็เป็นส่วนหนึ่งขององค์ประกอบนี้ด้วยเช่นกัน

          ทริคง่าย ๆ สำหรับการทำหลังละลายจำไว้แค่นี้ก็พอเลยครับ เปิดรูรับแสงให้กว้างที่สุดเท่าที่เลนส์จะทำได้ เข้าไปให้ใกล้สิ่งที่เราจะถ่ายให้มากที่สุด โดยทิ้งระยะห่างจากสิ่งนั้นไปถึงฉากหลังให้ไกลที่สุด และถ้าเลนส์ที่เราใช้มันซูมระยะได้ก็ซูมมันให้สุดกระบอกไปเลย

          ทริคที่เล่าให้ฟังนี้ ต่อให้เป็นเลนส์ kit หรือเป็นเลนส์ f ไหล ก็สามารถสร้างสรรค์ภาพถ่ายที่ละลายหลังขึ้นมาได้เหมือนกันครับ อาจจะละลายน้อยกว่าเลนส์ที่รูรับแสงกว้าง แต่ก็พอทำได้อยู่เหมือนกัน ซึ่งถ้าใครอยากได้ละลายกว่านี้ล่ะก็ แวะมานะครับ BIG CAMERA กว่า 160 สาขาทั่วประเทศ

 

ลูกค้าสามารถสั่งซื้อสินค้า สอบถามข้อมูล หรือ ติดตามข่าวสารหรือโปรโมชั่นใหม่ๆ ของทางเราได้ที่นี่

Website : https://www.bigcamera.co.th/

Facebook : https://www.facebook.com/BIGCAMERACLUB

บทความ ก่อนหน้านี้:
บทความ ถัดไป:

หมวดหมู่สินค้า