HOW TO ? ถ่ายภาพคอนเสริต์ระดับประเทศ ไมง่ายอย่างที่คิด!
|
ด่านแรก ! ก่อนที่จะก้าวไปถึงจุดนั้นมันก็ไม่ง่ายแล้วถ้าจะเถียงมาดูกันว่าเพราะอะไร?
บางคอนเสิร์ตห้ามอย่างเป็นทางการไม่ให้นำกล้องโปรฯหรือแม้แต่ดิจิตอลธรรมดาเข้าไปโดยเฉพาะอย่างยิ่งคอนเสิร์ตต่างประเทศเป็นที่ทราบกันดีเรื่องข้อจำกัดนี้ เต็มที่คุณก็ทำได้เพียงหยิบสมาร์ทโฟนสารพัดยี่ห้อขึ้นมาเก็บบรรยากาศ
แต่..ถ้าคุณได้มีโอกาสนั้นสิ่งแรกที่แนะนำครับ “ทำการบ้าน” การศึกษารายละเอียดต่างๆของศิลปินหรือวงดนตรีนั้นๆทำได้ไม่ยากในยุคออนไลน์นี้แค่เข้า You tube คุณต้องสังเกตลักษณะเฉพาะของเขาเมื่ออยู่บนเวที
เมื่อเกิดการ Performance ตั้งแต่ต้นกระทั่งจบไม่ว่าจะเป็นการถือไมค์ด้วยมือข้างไหนบางคนก็ขวาบางคนซ้ายหรือสลับสองข้างไปมาอย่างที่เราคุ้นตา
เคยเห็นกันอยู่ใช่ไหมครับเรื่องการใช้พื้นที่บนเวทีของศิลปินบางคนแทบไม่มี Movement เน้นใช้พลังเสียงในขณะที่การวิ่งไปวิ่งมาการเต้นการโยกร่างกายอย่างสุดเหวี่ยงก็เต็มไปด้วยสีสันอันเป็นตัวตนเป็น Character ที่เด่นชัดของศิลปินมากมาย
ไหนจะนักดนตรีทั้งมือกีตาร์มือเบสพวกเขาแสดงท่าทางอย่างไรขณะบรรเลงยากสุดคือตำแหน่งไหนทราบไหมครับ?
มือกลองไงก็อยู่ด้านในสุดของเวทีแถมนั่งด้วยความยากจึงเป็นที่สุดที่ผมให้คุณศึกษาเรื่องเหล่านี้เป็นข้อแรกจะได้ทราบไงครับว่า
ถึงวันนั้นที่คุณทำงานจะได้ทราบว่าตัวเองควรยืนอยู่จุดไหนตรงไหนของสถานที่นั่นหมายถึงลดความผิดพลาดหรืออาจไม่มีข้อผิดพลาดเลยถ้าคุณทำการบ้านอย่างที่ผมบอก
ตัวเราเอง “ช่างภาพ” การเป็นมืออาชีพที่ดีควรมีกล้องอย่างน้อย 2 ตัวครับ 3 หรือ 4 และ 5 ยิ่งดีเพื่อจะได้เลนส์ครบช่วง (Wide, Normal, Telephoto) คุณไม่มีเวลามาเปลี่ยนเลนส์ขณะที่กำลังถ่ายอยู่หรอก
สถานการณ์นั้นมัน Real มากไม่มีใครวิ่งกลับมาให้คุณกดชัตเตอร์เล่นแน่นอน อ้อแล้วเรื่องการพักผ่อนให้เพียงพอก่อนทำงานเป็นเรื่องสำคัญอย่าลืมว่าต้องแบกกล้องอยู่ในพื้นที่เสียงดังและอากาศถ่ายเทไม่ปกติแบบนั้นสุขภาพร่างกายช่างภาพต้องพร้อม ขั้นตอนการถ่ายมาถึงนาทีที่ท้าทายและคุณสนุกกับมันสิ่งแรกที่คือคุณสมบัติที่ดีของช่างภาพไม่ว่าถ่ายคอนเสิร์ตหรือ Events อื่นคือการถึงหน้างานก่อนอย่างน้อย 1 ชั่วโมงครับมากกว่านั้นจะดีมาก เพราะเป็นเรื่องธรรมดาที่ทีมงานต้องมีการทดสอบระบบแสงสีเสียง หรือคุณจะได้เจอตัวศิลปินขึ้นก่อนเล่นจริงก็มีบ่อยๆ
หน้างานสำคัญยังต้องเก็บบรรยากาศทั้งหมดไม่ว่าจะเป็นกลุ่มคนเข้าชมหรือแขก VIP บุคคลเหล่านี้จะประทับใจแค่ไหนเมื่อได้ชมภาพในงานของตัวเองอันนี้คือรายละเอียดเล็กๆน้อยๆแต่สำคัญ
มาถึงหน้าเวทีการยืนสังเกตการยืนดูหน้างานสัก 5-10 นาทีเป็นอีกเรื่องที่จำเป็นใช้สมาธิกับมันอย่ารีบร้อนครับคุณมีเวลาในคอนเสิร์ตนั้นๆอีกตั้งเป็นชั่วโมงที่ผมให้ยืนดูเพื่ออะไร? ไม่ให้ยืนเฉยๆต้องสังเกตครับว่า “แสง”
ที่มาจากจุดต่างๆของเวทีนั้นมาจากทิศใดบ้างลักษณะของการใช้แสงนั้นเป็นอย่างไรทั้งสีและการหักเห ฯลฯ
เพราะขณะถ่ายคุณควบคุมแสงหรือศิลปินได้ที่ไหน ! ต้องคิดเร็วถ่ายเร็วงานย้อนแสงต้องดีต้องแม่นรับรองคุณเจอแน่ที่สำคัญมันต้องดีต้องไม่พลาดคือพลาดแล้วพลาดเลยคุณทราบดีไม่มีโอกาสแก้ตัว
อีกเรื่องเทคนิคนี้ผมใช้เสมอ “การลืมตาทั้ง 2 ข้าง” โดยข้างหนึ่งมองภาพในจอกล้องอีกข้างมองภายนอกเผื่อมีช๊อตสำคัญมีการหลุดเฟรมคุณจะไม่พลาดการบันทึก
ท้ายสุดแล้วขอบคุณที่อ่านมาถึงบรรทัดนี้และอ่านจนจะจบผมหวังแน่นอนครับว่าประสบการณ์ที่แบ่งปันมานี้มันจะสร้างประโยชน์เป็นแนวทางสำหรับท่านที่ยังใหม่หรือแม้แต่ไม่เคยจับงานคอนเสิร์ตมาก่อนเรื่องเหล่านี้ไม่มีใครเก่งเกินกันมันอยู่ที่มุมมองและการฝึกฝนของเราเอง ขอให้มีความสุขกับการถ่ายภาพครับ
ปีเตอร์ สมบัติ ศรีศุภภัค